ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
A History of Thailand
เขียนโดย คริส เบเคอร์ (Chris Baker) และ ผาสุก พงษ์ไพจิตร
หลังจากได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วได้มุมมองของประวัติศาสตร์ที่ยังไม่เคยได้ยินที่ไหน ไม่เคยสอนในบทเรียนไทย เช่น ลักษณะของคนไทยเมื่อ 200 ปีที่แล้ว

หรือกระทั่งข้อความที่น่าสนใจจากคณะราษฎร ปี 2475 ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ 2564 แล้ว ทำให้ได้ฉุกคิดอะไรหลายๆอย่างถึงการพัฒนาทางการเมืองไทย

นั่นทำให้ผมนึกถึงกะลาแลนด์ ที่มีเรื่องของบทบาทผู้ใหญ่บ้านในยุคสมัยต่างๆ และนี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวกับผู้ใหญ่บ้านในดินแดนแห่งหนึ่ง
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 1 เป็นนักรบที่เก่งไปยึดเมืองต่างๆได้มากมาย คิดว่าน่าจะโหดมาก
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ไม่ได้มีบทบาทอะไรนัก
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 ไม่ได้มีบทบาทอะไรนัก
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 โลกเริ่มเข้าสู่ยุควิทยาศาสตร์ เริ่มมีความเจริญ ทำให้ต้องปรับตัว เป็นยุคที่ต่างชาตินอกกะลาแลนด์เริ่มเข้ามาหาผลประโยชน์ และจากความเห็นผมคือเขาทำได้ดีเลยในระดับนึง กับการที่เป็นประเทศกะลาเถื่อนๆประเทศนึง แล้วเอาตัวรอดจากอันตรายได้
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 นี่คือจุดเปลี่ยนผ่านที่สำคัญที่สุด มีกลุ่มคนที่นำเสนอให้กะลาแลนด์ทำตามแบบประเทศที่พัฒนาเร็วอื่นๆบ้างเช่นดินแดนพระอาทิตย์ ที่ทำให้มีรัฐบาลที่เน้นกระจายความเจริญ ทำให้ชาวกะลาเติบโตได้ แต่เขาปฎิเสธ ยืนยันจะรวบอำนาจมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ การตัดใจรวบอำนาจนั้นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้กะลาแลนด์ไม่พัฒนาก็เป็นได้ เพราะไม่ได้พัฒนาชาวกะลาเลย แต่จะทำเพื่อกลุ่มผู้ใหญ่บ้านหมด
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 6 เริ่มมีแนวคิด กะลา ศาสนา ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเอามาจากดินแดนน้ำหอม (แทนพระเจ้าด้วยผู้ใหญ่บ้าน) และยังห้ามเรียนเศรษฐศาสตร์เพราะกลัวควบคุมประชาชนไม่ได้ แสดงถึงการพยายามรักษาอำนาจผู้ใหญ่บ้านไว้เช่นเดิม ต่อยอดจาก ผู้ใหญ่บ้านคนก่อน
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 7 พยายามรักษาอำนาจเหมือนเดิม แต่ทหาร ตำรวจ และสามัญชนที่ได้ไปเรียนนอกกะลาได้เห็นความเจริญนอกกะลาจึงถูกปฎิวัติ หลังปฎิวัติเขาก็ยังพยายามหาทางเอาคืน แต่สุดท้ายก็ยอม
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 8 ไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะคณะปฎิวัติและทหารคุม น่าสงสารมาก
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 9 ได้เป็นใหญ่ขึ้นมาจากการสนับสนุนจากดินแดนแห่งอินทรีย์อย่างชัดเจน และต่อยอดความได้เปรียบนั้นส่งเสริมตัวเองขึ้นมาเป็นบุคคลศูนย์กลางของกะลา เหมือนว่าจะสามารถเอาอำนาจกลับมาได้จากการล้างสมองชาวกะลา จนทุกวันนี้ยังมีคนติดภาพนี้อยู่เลย
ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 10 รวบอำนาจมากกว่าเดิม ผ่านทหาร ตำรวจ เครือข่ายนายทุน
จะเห็นได้ว่ามันเป็นการพยายามรักษาอำนาจของผู้ใหญ่บ้าน โดยไม่สนใจว่าชาวกะลาจะเป็นยังไง พูดง่ายๆตอนนี้กะลาแลนด์กลับไปสู่ยุคของผู้ใหญ่บ้านคนที่ 7 และอาจแย่กว่าเดิมเพราะทหารกะลาไม่ได้อยู่ข้างชาวกะลาเหมือนยุคนั้นแล้ว
ถ้าถามว่าใครที่โดดเด่นที่สุด ผมคิดว่า ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 4 แต่ที่ผิดพลาดที่สุดคือ ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 5 เป็นจุดพลิกผันที่ทำให้กะลาแลนด์ไม่เจริญอย่างที่ควรเป็น จากการรวบอำนาจจนชาวกะลาไม่ได้พัฒนา
ส่วน ผู้ใหญ่บ้านคนที่ 9 นี่เป็นเพราะโชคดีที่มีดินแดนแห่งอินทรีย์มามีอิทธิพลมากๆ ทำให้เขามาในทางล้างสมองชาวกะลาแบบสุดโต่ง ซึ่งต้องโทษดินแดนแห่งอินทรีย์ด้วยที่ทำให้กะลาแลนด์เป็นง่อยแบบทุกวันนี้
คิดต่ออีกว่าชาวกะลาจะทำอะไรได้ไหมในตอนนี้ ผมคิดออกทางเดียวคือต้องทุบหม้อข้าวตัวเอง ออกไปป่วนให้กะลาแลนด์มันพังทลาย ปรสิตจะได้ตายด้วย ถึงวันนั้นน่าจะเปลี่ยนได้ แต่คงไม่มีชาวกะลาคนไหนอยากทุบหม้อข้าวตัวเอง วิธีที่ดีสุดคือช่วยกันทำแหล่งเรียนรู้ ทำให้เกิดความตระหนักรู้ (awareness) แบบเนียนๆไปเรื่อยๆ
ดังนั้นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 10 นั้นเป็นแค่ผลพวงของระบบที่มีมาช้านาน เพราะฉะนั้นชาวกะลาไม่ควรไปเน้นตัวบุคคลมากเกินไป แต่ให้มองไปที่ระบบแทนจะดีกว่า ถ้าสมมติเราเน้นตัวบุคคลเกินไป แล้วสมมติผู้ใหญ่บ้านคนที่ 10 มีภาพลักษณ์ที่ดีมาก ชาวกะลาอาจจะยังมองไม่ออกก็ได้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น
เมื่อหันกลับมามองประเทศไทยในวันนี้ กับดินแดนหนึ่งในนิยายที่ผมกล่าวถึง ผ่านความเข้าใจประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ซึ่งความจริงเพิ่งมีมาไม่นาน จากการรวบรวมดินแดนเข้าด้วยกันด้วยกำลังทหาร หลังจากถูกพม่าทำลายล้างอยุธยาไปแล้ว ประเทศไทยนั้นเพิ่งเกิดใหม่ และมันได้วนเวียนอยู่กับการรักษาอำนาจของผู้มีอำนาจทั้งหลาย
การเริ่มหันมาศึกษาหาความรู้ ด้วยการมองปัญหาเชิงระบบหรือโครงสร้าง ไม่ใช่ “ตัวบุคคล” คือทางออกของประเทศไทย รวมไปถึงการอ่านหนังสือเล่มนี้ช่วยให้มองระบบหรือโครงสร้างได้ดียิ่งขึ้น
เราจะเห็นว่าตัวละครในหนังสือเล่มนี้นั้นมีมากมายเป็นร้อยเป็นพันคน ล้วนแต่สังเวยให้กับระบบหรือโครงสร้างทั้งนั้น จุดเปลี่ยนต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากความตื่นรู้ เช่น สามัญชนคณะราษฎรตื่นรู้จากการไปเห็นความเจริญภายนอก บางครั้งเกิดจากการต่อสู้เชิงความคิด เช่น อเมริกาต่อสู้กับคอมมิวนิส ทำให้ต้องสนับสนุนประเทศไทยให้มั่นคงขึ้น
ถ้าจะให้เปรียบเทียบง่ายๆ อย่างผู้กำกับโจ้ฆ่าประชาชน ก็เป็นผลพวงจากระบบหรือโครงสร้างเช่นกัน อ้างว่าใครเขาก็ทำกัน ทำกันนานแล้ว แต่ไม่มองถึงสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นแนวคิดของโลกอารยะ แต่เป็นเบี้ยในระบบหรือโครงสร้างที่จองจำเรา ต่อให้มีอำนาจล้นฟ้า หรือมีเงินล้นฟ้า พวกเขาก็ยังคงเป็นเบี้ยในระบบอยู่ดี