เมื่อทางเลือกที่เหลือคือความตาย

เดือนนี้เมื่อปีที่แล้ว ผู้พิพากษาคณากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ยิงตัวตายครั้งที่ 2 จนเสียชีวิต เนื่องจากมีกระบวนการแทรกแซงในการตัดสินของศาล


เขาได้เขียนจดหมายแถลงการณ์ 25 หน้า อธิบายถึงเหตุผลที่ตัดสินใจปลิดชีวิตตนเอง ซึ่งเหตุการณ์ก่อนหน้านี้คือผู้พิพากษาคณากรยกฟ้องจำเลยทั้ง 5 คนเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ แต่อธิบดีผู้พิพากษาฯ มีคำสั่งให้แก้คำพิพากษาเป็นประหารชีวิตจำเลย 3 คน ส่วนอีก 2 คนให้จำคุก


นั่นเป็นครั้งแรกที่เขาตัดสินใจยิงตัวตายในช่วงปลายปี 2019 แต่เขารอดตาย หลังจากรอดชีวิตมากได้เขาได้ใช้เวลาสุดท้ายในชีวิตซ่อมแซมบ้านให้ภรรยาและลูก


นั่นคือทางเลือกที่เหลือที่เขามีอยู่ เพื่อพิสูจน์ถึงจิตวิญญาณในการเป็นผู้พิพากษา ที่เชื่อมั่นในความยุติธรรมของประเทศ หนึ่งในประโยคของจดหมายนั้น


“ผมขอยืนยันกับเพื่อน ๆ พี่น้อง ประชาชนชาวไทยทุกท่านว่าสิ่งที่ทำลงไป ผมทำด้วยหัวใจบริสุทธิ์ ต้องการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน และไม่เสียใจที่ได้กระทำ ผมภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการให้ความยุติธรรมแก่ประชาชน”


ก่อนหน้านั้น 14 ปีก่อนผู้พิพากษาจะปลิดชีวิตตนเอง ปี 2006 หลังจากมีการรัฐประหารโดย พลเอก สนธิ จากเหตุการณ์คนเสื้อเหลืองนำโดยสนธิ ลิ้มทองกุล ประท้วงอย่างกว้างขวาง


ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ได้ขับรถแท็กซี่พุ่งชนรถถังของคณะรัฐประหาร แต่ไม่เสียชีวิต เพื่อประท้วงการรัฐประหารที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า คุณลุงนวมทองอยากที่จะเห็นประเทศไทยมีระบบประชาธิปไตยภายในชีวิตของคุณลุง
แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปีนั้น ทำให้คุณลุงตัดสินใจประท้วงโดยปลิดชีพตนเอง ซึ่งในความหมายนึง หมายถึงมันเป็นทางเลือกสุดท้ายของนักต่อสู้ที่จะทำได้


หลังจากคุณลุงรอดชีวิต คณะรัฐประหารได้สบประมาทว่า
“ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้”
นั่นทำให้คุณลุงได้แขวนคอตายที่สะพาน ในเดือนต่อมา เพื่อลบคำสบประมาท

คุณลุงใส่เสื้อที่พิมพ์บทกลอนของกุหลาย สายประดิษฐ์
” อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านแรงมหาประชาชน”


ย้อนกลับไปในสมัยสงครามเย็น ปี 1963 ในประเทศเวียดนาม
พระสงฆ์ ทิก กว๋าง ดึ๊ก ได้จุดไฟเผาตัวเอง ประท้วงรัฐบาลที่สนับสนุนโดยอเมริกา โดยโงดินห์เดียม ผู้นำประเทศในขณะนั้น เป็นผู้ที่สนับสนุนคริสต์นิกายคาทอลิก ใช้อำนาจของตนเองกดขี่และดำเนินคดีชาวพุทธมาอย่างต่อเนื่อง


ในส่วนหนึ่งของจดหมายลาตาย เขียนไว้ว่า “ต้องการความเสมอภาคทางศาสนา เพื่อที่ประเทศได้อยู่อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป”
หลังจากเหตุการณ์เผาตัวเองของพระสงฆ์รูปนั้น ได้เกิดการรัฐประหารและสังหารโงดินห์เดียม ภายใต้สงครามเวียดนามที่ประทุขึ้น

แน่นอนว่าผลลัพธ์ของการฆ่าตัวตายประท้วงนั้นแตกต่างกันไปในช่วงเวลา สถานการณ์ต่างๆ
ผู้พิพากษาคณากร ยิงตัวตาย เพื่อต้องการให้เกิดความยุติธรรมในระบบศาล
คุณลุงนวมทอง แขวนคอตาย เพื่อต้องการประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
พระสงฆ์ ทิก กว๋าง ดึ๊ก เผาตัวเองตาย เพื่อต้องการความเท่าเทียมของการนับถือศาสนา


ความหมายในความตายของวีรชนเหล่านี้ จะคงอยู่ตลอดไป ในความทรงจำของทุกคนที่เป็นนักต่อสู้ ที่ยังมีชีวิต ที่ถูกจองจำ ถูกจำกัดเสรีภาพ โดย “ผู้กดขี่” จะคงอยู่ ตราบใดที่ “มวลชน” ยังคงเคลื่อนไหว ยังคงปรากฎขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่าไม่กลัว แต่ต่างก็ยึดโยงด้วยความสัมพันธ์ฉันพี่น้อง ที่ร่วมเดินทางต่อสู้ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว


เราจะไม่ลืมวีรชนเหล่านี้อย่างแน่นอน ทางเลือกที่ยังมีชีวิตของมวลชน ทางเลือกที่ยังมีชีวิตของนักต่อสู้ แกนนำทุกคนที่อยู่ในคุก ยังคงก้าวต่อไปพร้อมๆกัน