นาฬิกาทรายที่ไหลทางเดียว

ตลอดปีที่ผ่านมา จนถึงวันนี้

สำหรับผม ผมยังยืนยันคำเดิม เพราะผมก็ยังไม่เห็นหนทางอื่นที่จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างได้

ผมยังเชื่อว่า ณ วันนี้ เรายังไม่สามารถชนะได้ในระยะเวลาอันสั้น

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง ทำได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงจาก bottom-up ซึ่งต้องใช้เวลายาวนานนับ 10 ปีเท่านั้น

.

ผมพูดแบบนี้มาตลอดหลายต่อหลายปี ตั้งแต่ก่อนมีม๊อบ 63 ด้วยซ้ำ

หนทางนี้ เป็นหนทางที่จ่ายน้อยที่สุด และมีหวังมากที่สุดแล้ว

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา คำว่า มีหวัง มันอาจจะดูเลื่อนลอย ดูเป็นไปได้ยาก แต่การเกิดขึ้นของม๊อบ 63 มันเป็นหลักฐานที่ชัดเจน และเข้มแข็งให้กับความหวังนี้ ว่า มันเป็นไปได้จริงๆ

ความหวังมันมีอยู่จริง และมันไม่เคยสว่างเท่านี้

.

การพูดประเด็นนี้ สำหรับผม มันคือ ประเด็นเดิมที่พูดซ้ำไปซ้ำมาเป็นสิบๆครั้ง

และทุกๆครั้ง มันก็ยากที่จะพูด เพราะมันมีเรื่องที่ต้องคำนึงถึงหลายประเด็นมากๆ ซึ่งโพสท์นี้อยากจะเล่า และอธิบายให้ฟังว่า ตลอดเวลาทุกๆวัน ที่เรายังอยู่ภายใต้เผด็จการทหารและใต้ระบอบกษัตริย์นี้ ผมจมอยู่กับความรู้สึกอะไรบ้าง

ความรู้สึกที่ว่า เราอยากจะเปลี่ยนแปลง แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้ มากไปกว่าสิ่งที่เราช่วยกันทำอยู่

.

ประเด็นแรกเลย

ทำไมผมถึงไม่เห็นด้วยกับการยกระดับการต่อสู้

จริงๆ จะพูดว่า ไม่เห็นด้วยก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะถ้าวันหนึ่งแกนนำต้องการยกระดับจริง ผมก็จะร่วมสนับสนุน แม้ว่าอาจจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เพราะผมมองว่า ในขณะนี้ในบริบทการเมือง ผมยอมเป็นหมาก ผมยอมเป็นจุดที่ใช้ถมดำ ถ้าเราชนะ เราชนะด้วยกัน ถ้าเราแพ้ เราก็แพ้ด้วยกัน ผมอยากช่วยผลักดัน movement นี้ ให้ไปถึงปลายทางมากกว่า

แต่กระนั้นการยกระดับมันก็ต้องมีขอบเขต ซึ่งเราจะมาคุยกันเรื่อง ขอบเขต ต่อไป

.

กลับมาว่า ทำไมผมถึงไม่ค่อยเห็นด้วยนัก กับการยกระดับ

คำตอบสำคัญที่สุด ก็เหมือนกับที่เคยพูดบ่อยๆ ที่ทุกคนน่าจะรู้ดี คือ ราคาที่ต้องจ่ายมันแพงเกินไป

ราคานี้ มันไม่ใช่ราคาที่ผมจ่ายคนเดียว

ถ้าผมจ่ายคนเดียวแล้วจบ ชีวิตผมก็จ่ายได้

แต่นี่มันไม่ใช่ มันคือ ชีวิตของคนนับล้าน มันคือ ความเสียหายในระดับที่รุนแรง

ถ้าจะให้ยกส่วนหนึ่งของที่ ปวิน พูดใน clubhouse เมื่อวาน ปวินพูดประมานว่า ‘รอบนี้ความรุนแรงของความขัดแย้งมันสูงมาก ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้ คือ ปิดประตูไปเลย เก็บของกลับบ้าน’

จากคำพูดของปวิน ผมเห็นด้วยในแง่ที่ว่า ถ้าเรายกระดับตัดสินชี้ขาดในวันนี้ โอกาสที่เราจะชนะในวันนี้ มันริบหรี่จนใกล้ศูนย์ และถ้าเราแพ้วันนี้ สำหรับเราคือ จบ

ถ้าย้อนกลับไปมองคนเสื้อแดง การสูญเสียของเขาในวันนั้น นอกจากจะสร้างความเจ็บแค้นให้กับประชาชน การสูญเสียในวันนั้น ยังเป็นการ set back ให้กับขบวนการ ทั้งฟากประชาชน และฟากพรรคการเมือง แม้ว่าพลังของเสื้อแดงจะยังมีอยู่ แต่กว่าที่จะกลับมามีบทบาทในระดับสังคมได้ ก็กินเวลาหลายปี

แม้ว่าใจจริง ผมยังเชื่อว่า ไม่ว่าเราจะแพ้ เราก็จะสามารถกลับมารวมกันได้ เพราะไฟตรงนี้มันยากเหลือเกินที่จะดับ แต่การแพ้อย่างรุนแรง มันทำให้เราเสียอะไรไปมาก และจะทำให้ความเคลื่อนไหวระดับสังคมต้องถูก delay ออกไปอีก

ดังนั้นในมุมนี้ ใจลึกๆของผมคือ กึ่งๆ ถ้ามีก็คงต้องไป แต่อีกใจก็ยังไม่อยากให้มี

.

ถ้าจะให้สรุปว่า สาเหตุหลักที่ทำไม movement ของเสื้อแดงถึงไม่ประสบความสำเร็จในวันนั้น

ผมมองว่า เพราะเรายังตื่นไม่พอ

การต่อสู้ของเสื้อแดงถูกรัฐทำให้โดดเดี่ยว เพราะความดีงามสูงสุดอย่างกษัตริย์ และอำนาจรัฐยังคงกุมความเชื่อของ majority อยู่

เสื้อแดงจึงถูก demonize และถูกทำให้กลายเป็นคนกลุ่มน้อย กว่าที่คนจะตื่นเพิ่ม กว่าที่คนจำนวนมากจะเริ่มเห็นปัญหา เริ่มเห็นปัญหาคอขวดจริงๆ ก็ผ่านเหตุการณ์นั้นมาอีกหลายปี หลายๆคนต้องเดือดร้อนมาถึงตัวก่อน ถึงจะรู้สึกตัว

ผมมองว่า มุมหนึ่งของประเด็นปัญหาเรื่องโครงสร้างอำนาจ ก็คือ ตัวทักษิณเอง

แม้ว่าสถาบันกษัตริย์จะเรืองอำนาจมาหลายปี แต่ในยุคทักษิณเองที่มีการขยายบารมีและความดีงามให้กับสถาบันมากขึ้นไปอีก และเศรษฐกิจที่ทักษิณสร้างไว้ ก็กลายเป็นมาตรฐานที่ดี

ในจุดนี้ก็อาจมองได้ว่า สังคมมันถูกสร้างไว้ในระดับที่สูงกว่าปกติ

ประชาชนก็มองไปว่า นี่กลายเป็น default และมันไม่ใช่เครดิตของทักษิณ หรือ รัฐบาลของประชาชน แต่มันเป็นเครดิตของสถาบันด้วย

พอสถาบันหันกลับมาเล่นงานทักษิณ ประชาชนที่ถูกปลูกฝังมาด้วยกรอบคิดแบบรัฐนิยม ศาสนานิยม ความดีงาม คุณธรรม ความดีสูงสุด ก็ถูก shape ให้เห็นเครดิตของสถาบันที่ดำรงอยู่ในฐานะคล้ายสมมติเทพ ในขณะที่ทักษิณเป็นเพียงผู้นำเฉยๆ

ระบอบที่ทักษิณพยายามเชิดชู กลับมาแทงตัวเองจนทำให้ต้องสูญเสียอำนาจทางการเมืองของตัวเองไปมากอยู่

.

แล้วยิ่งปัจจุบันเราเห็นสถานการณ์ของฮ่องกง สถานการณ์ของพม่า

ส่วนหนึ่งที่เราเห็นความแตกต่างได้ชัดเลย ก็คือ จำนวนคนของฝ่าย ปชต มันยังไม่พอจริงๆ

ขนาดสังคมฮ่องกง หรือ พม่า ที่มีคนเข้าร่วมมหาศาล การต่อต้านรัฐเป็น majority เขายังต่อสู้อย่างยากลำบาก

แล้วหันกลับมาดูเรา

องค์กรแพทย์แมร่งยังเข้าข้างทหารที่ทำร้ายแพทย์อาสา

ดาราติด #saveประเทศอื่น แต่เงียบกับสถานการณ์บ้านเรา

อาจารย์สลิ่มบอกว่า สงสารตำรวจที่ถูกผู้ชุมนุมปาหิน แต่ไม่เคยมองเห็นผุ้ชุมนุมที่ถูกจับ ถูกทำร้าย ปางตายโดยตำรวจ

คนที่แม้จะเดือดร้อนยังไง จะใช้ชีวิตลำบากยังไง แต่ก็ไม่เคยเห็นว่า สถาบันเอาเปรียบตัวเองมากแค่ไหน ยังคงมองว่า สถาบันคือ คุณธรรมสูงสุด

แล้วเราจะเปลี่ยนสังคมได้ยังไง

เพราะก่อนที่เราจะต้องสู้กับอำนาจทหาร อำนาจปืน อำนาจกฎหมายที่มีสถาบันควบคุม

เรายังต้องสู้กับคนเหล่านี้กันอีกมากมาย

.

ในจุดหนึ่ง อย่างที่เคยคุยกันมาว่า เราผ่านจุดที่จะหา consensus ร่วมกันแล้ว

ถามว่า consensus น่ะ มีอยู่ไหม

ที่จริงก็มี

แต่มันเป็น consensus ที่ถูกเสนอโดยฝ่ายเรา

ก็คือ การ ‘ปฏิรูปสถาบัน’ นั่นเอง

แต่ consensus นี้ ไม่มีอยู่ใน option ของฝ่ายอำนาจ

Consensus ของฝ่ายอำนาจคือ มึงจงอยู่เงียบๆ และอยู่ใต้ระบบนี้ต่อไป แล้วกูจะแบ่งเศษทรัพยากรให้ตามที่เห็นสมควร

.

ดังนั้นหากไม่มีใครยอมรับ consensus ของอีกฝ่าย

สุดท้ายสงครามนี้ ก็ต้องดำเนินไปจนกว่าจนมีจุดชี้ขาด จุดใดจุดหนึ่ง

ซึ่งผมมองว่า ยังไงมันต้องจบที่ประชาชนชนะ

ปัญหาอยู่ที่ว่า จะต้องใช้เวลานานมากเท่าไหร่

.

ผมเคยเขียนโพสท์นึง ที่ลบไปแล้ว

ลองสาธยายว่า ถ้าจะยกระดับ จะเอาชนะวันนี้ จะต้องทำยังไง

ทุกวิธีการในนั้น เขียนเพื่อให้เห็นว่า ความยากลำบาก และราคาที่ต้องจ่ายมันสูงแค่ไหน

แต่มีคนตีความไปว่า ผมเชียร์ให้ใช้วิธีนี้ และถูกสลิ่มเอาไปแขวน ก็เลยลบทิ้งไป

.

อีกมุมหนึ่ง ผมลองจินตนาการเล่นๆว่า สมมติเราชนะจริงในวันนี้ เรายึดอำนาจรัฐได้จริง เปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจได้จริง

เราจะ maintain อำนาจนั้นอย่างไร ถ้าทหารที่เข้าถึงอาวุธได้ ยังคงเชื่อในระบอบกษัตริย์ หรือ เราจะ maintain ประชาธิปไตยยังไง ถ้าคนจำนวนมาก ยังเรียกร้องให้อาสถาบันกลับมา

ถ้าสมมติผมเป็นผู้นำ ปชต. ผมก็ทำได้ทางเดียวคือ ยึดอำนาจ และ หยุดระบอบ ปชต. ไว้ก่อน แล้วจำกัดการเข้าถึงอาวุธ ไม่ให้ทหารก่อรัฐประหาร แล้วก็ออกกฎหมายนิรโทษตัวเอง ในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมไปถึงออกกฎหมายห้ามเชิดชูระบอบเก่า แล้วก็เปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาใหม่

ในจินตนาการนี้ ภาวะทางการเมืองจะผันผวนอย่างมาก จะมีแรงต้านจากทุกสารทิศ ไม่แม้แต่จากฝั่งสลิ่ม แต่รวมถึงฝั่งเราด้วยกันเอง เพราะการจะ maintain ภาวะนี้ โดยไม่ใช้อำนาจ หรือตั้งตรงอยู่บนหลักการ ผมว่า มันเป็นไปไม่ได้เลย

กลุ่มอำนาจเก่า จะต้องใช้ทุกวิถีทางที่จะฟื้นฟูอำนาจตัวเอง

กลุ่มทุนจะต้องมองหาช่องทางทำกำไร หรือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ

แล้วคุณในฐานะผู้นำของรัฐที่มีความกระท่อนกระแท่นนี้ จะดำรงอยู่บนหลักการอย่างไร หากคนอื่นไม่เอาด้วยกับหลักการนี้ และพยายามจะเล่นนอกกติกาให้ได้

สิ่งที่น่ากลัวที่สุด ย่อมไม่พ้นกลุ่มอำนาจทหาร ที่มีกองกำลังและอาวุธ ที่สามารถจะรัฐประหารได้ตลอดเวลา

.

ย้อนกลับไปที่คำพูดของปวิน ด้านบน

ถ้าความเห็นของผมจริงๆ ผมมองว่า ตอนนี้ประชาชนแพ้ได้ แต่เราไม่ควรแพ้หนัก เราแพ้ได้ เราก็ลุกได้ และเราสร้างฐานที่มั่นคงให้กับสังคมได้ เพราะเรามี next generation อยู่ข้างเดียวกับเรา

แต่สถาบันอะ แพ้ได้ครั้งเดียว

ถ้าเราชนะในการเปลี่ยนแปลงสังคมจาก bottom-up ได้ ค่อยๆโถมคลื่นของแนวคิดทางประชาธิปไตย ขึ้นไปบนโครงสร้างอำนาจได้ เราจะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ทั้งองค์รวม และเมื่อนั้นมันยากที่จะย้อนกลับ

ถ้าเราทำงานกับความคิดได้ ถ้าเราเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา เปลี่ยนคุณค่าของสังคมได้

ขั้นต่อไป คือ การเปลี่ยนระบบ

เปลี่ยนระบบกฎหมาย เปลี่ยนระบบสภาและการเมืองทางการ เปลี่ยนระบอบทุน

แล้วในที่สุด มันถึงจะนำไปสู่การเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ

ทั้งหมดนี้น่าจะมี 20 ปีอย่างน้อย

.

สำหรับผม ทางเดียวที่เราจะชนะสงครามนี้โดยอย่างเด็ดขาด คือ การทำงานทางความคิด ทางวัฒนธรรม

ความเคลื่อนไหวของคนเดือนตุลาได้จุดประกายไว้ ความเคลื่อนไหวของเสื้อแดงที่เคยเกิดขึ้น ได้สร้างรากฐานให้กับสังคม และมันก็ส่งต่อคบเพลิงมาถึงม๊อบ 63

ซึ่งเมื่อดูสถานการณ์ม๊อบ 63 เราน่าจะรู้ได้ว่า มันกำลังแผ่ขยาย และเพิ่มจำนวนมากขึ้น

แม้ว่าสถานการณ์ของม๊อบจะเบาลงบ้าง แต่ความคิด ความโกรธ มันยังคงอยู่เสมอ และมันค่อยๆขยายตัวขึ้น

คนเดือนตุลา กลายเป็นบุคคลสำคัญ

คนเสื้อแดงกลายเป็นแรงสนับสนุนที่พร้อมช่วยเหลือ

และมีม๊อบ 63 เป็นหัวหอก

ถ้าเรายัง maintain ภาวะนี้ไปเรื่อยๆ สร้าง momentum ของการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ

สังคมก็ค่อยๆ shift ไปเรื่อยๆ

ถ้าย้อนกลับไป 2-3 ปีก่อน แล้วบอกว่า วันนี้เรื่องเจ้าจะเป็นเรื่องที่พูดกันทั่วไปขนาดนี้ คงไม่มีใครกล้าเชื่อ

ในช่วงเวลา 7 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ กปปส. สังคมเราเปลี่ยนชื่อหลังตีนเป็นหน้ามือ

ผมอะ โคตรจะตื่นเต้นเลย ถ้าจินตนาการว่า อีก 10 ปี สังคมเราจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร

.

ในมุมหนึ่ง

สิ่งที่ผม concern มากเรื่องหนึ่ง

คือในขณะที่เราหลายคนรอได้ รอให้สังคมค่อยๆเปลี่ยนได้ เพราะเรามีต้นทุน

แต่ก็มีคนอีกหลายล้านคนที่รอไม่ได้ เพราะเขากำลังจะขาดใจกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

ณ จุดนี้ ผมบอกเลยว่า จนปัญญา และไม่รู้จะทำยังไง

เพราะสิ่งที่เดียวจะช่วยเหลือกันได้ ก็คือ อำนาจรัฐ ที่ต้องมีประสิทธิภาพและเห็นหัวคนกันมากขึ้น

แต่สิ่งนั้น จะไม่มีวันเปลี่ยน หากเราไม่เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

มันเลยกลายเป็นภาวะที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก

พูดก็พูดได้ไม่เต็มปาก

.

สุดท้ายนี้ ผมขอพูดแบบนี้ละกัน

ถึงจะพูดยังไง สุดท้ายมันก็เป็นแค่ความเห็นของผมคนเดียว

เราเป็นหนึ่งในสังคม เราร่วมกันสร้างสังคม เราก็รับผิดชอบร่วมกัน

สังคมคือ การปะทะกันของความคิด การเมือง และผลประโยชน์

ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรที่ถูกต้อง ดีงาม 100%

เราทุกคน อาจจะต้องมือเปื้อนโคลน หรือเปื้อนเลือดทางใดทางหนึ่ง เพื่อผลักดันในสิ่งที่เราเชื่อ และเราคิดว่า ดีที่สุด

สิ่งที่เราเชื่อ อาจจะตั้งอยู่บนความชอบธรรมที่พยายามสร้างสังคมที่แฟร์กับทุกคน

ในขณะเดียวกัน อีกกลุ่มหนึ่งเขาก็ยอมเปื้อนเลือด เปื้อนโคลนเหมือนเรา เพื่อผลักดันคุณค่า ที่เป็นความดีสูงสุดของเขาเช่นกัน

และเพื่อความดีสูงสุดนั้น ชีวิตของเราเป็นสิ่งที่จ่ายได้

.

อย่างไรก็ตาม

ในสังคมมนุษย์ มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ยอมตายเพื่อสิ่งที่ตนให้คุณค่า นอกจากคุณค่านั้นอยู่เหนือชีวิตตัวเองขึ้นไปอีก

แต่มนุษย์เรา ยอมฆ่า เพื่อสิ่งที่ตนให้คุณค่า เพราะชีวิตคนอื่นนั้นไม่มีค่าเทียบเท่าชีวิตเรา หรือ ความดีของเราหรอก

.

ขอให้ท่านจงมีวิจารณญาณเป็นของตัวเอง