ช่วงหลังมานี้แนวคิดสังคมนิยมจากกลุ่มของเยาวชนปลดแอกค่อนข้างชัด จากการตั้งฉายาในหลวงว่า “กษัตริย์ทุนนิยม”
ถ้ามองผ่านๆก็คงเฉยๆ ใครๆก็ทุนนิยม ทำไมกษัตริย์จะมีทุนบ้างไม่ได้? แต่แทนที่จะเน้นว่าทุนนั้นได้มาอย่างไร และเหมาะสมหรือไม่ กลับทำทีเหมือนใส่ร้ายให้ ระบบทุนนิยม สร้างกษัตริย์ทุนนิยมขึ้นมา
ผมค่อนข้างแปลกใจที่ในยุคนี้ มีกลุ่มคนที่โฟกัสกับความสังคมนิยมอย่างมาก ขนาดนี้ เพราะในโลกยุคใหม่นั้น มีการผสมผสานระหว่างแนวคิดทั้งสองแบบนี้เข้าด้วยกัน
ตัวอย่างเช่น.ประเทศจีน เป็นสังคมนิยมที่มีระบบทุนนิยมเสรีด้วยเช่นกัน การที่มีคนแบบ แจ๊คหม่า มีกลุ่มทุนต่างๆที่ค้าขายกับต่างชาติมากมาย แม้ว่าจะถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นทุนนิยมที่มีระบบสังคมนิยมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือระบบการแข่งกีฬาอาชีพ เช่น NBA, NFL มีระบบการเลือกดาวรุ่งแบบ Draft คือมีเงินอย่างเดียวก็ซื้อไม่ได้ ต้องเป็นทีมที่อยู่ท้ายตาราง ทีมบ๊วยจะได้ดาวรุ่งเก่งๆจากมหาวิทยาลัยต่างๆไปก่อน ทำให้เกิดความสมดุลในการแข่งขันมาเสมอ
ซึ่งถ้าเป็นฟุตบอลอังกฤษจะเป็นทุนนิยมสุดโต่งเลย คือใครมีเงินก็ซื้อตัวหรือเซ็นต์สัญญาแพงๆได้ก่อน
ในประเทศแสกนฯก็มีรัฐสวัสดิการที่ค่อนข้างสังคมนิยมเช่นกัน ซึ่งมันเกิดได้เพราะระบบทุนนิยมเข้มแข็งแล้ว บ้านเมืองได้พัฒนามาจนมีการปรับเปลี่ยน คัดเลือกระบบที่ดีที่สุดให้กับประชาชน
แน่นอนว่าการสนับสนุนแนวคิดสังคมนิยมไม่ใช่เรื่องผิด แต่การต่อต้านทุนนิยมเป็นสิ่งที่น่าลำบากใจมากกว่า โดยเฉพาะการขนานนามว่า กษัตริย์ทุนนิยม เหมือนเป็นคำชมมากกว่าการวิจารณ์ ควรตั้งให้เหมาะสมกับสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องในปีนี้
ควรวิจารณ์เรื่องโอนทรัพย์สินไปเป็นของตนเอง ซึ่งไม่ใช่เพราะเป็นระบบทุนนิยม แต่เป็นเรื่องความเหมาะสมของพระราชอำนาจที่กลุ่มราษฎรเรียกร้องมาตลอด
การที่ในหลวงไปเป็นเจ้าของบริษัทใหญ่ของไทยนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่เรื่องที่แปลกคือหลายปีก่อนชื่อของในหลวงนั้น เป็นชื่อสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นของราชวงศ์ ไม่ใช่ของในหลวงคนเดียว
แต่ไม่ใช่เพราะทุนนิยมหรือ ที่จริงๆแล้วทำให้ประชาชนทุกคน เป็นเจ้าของบริษัทอย่าง ปตท. (PTT) ทางอ้อม เพราะรัฐถือหุ้นใหญ่ ซึ่งกำไรนั้นกลับเข้าสู่รัฐเพือบริหารประเทศให้ประชาชนได้ประโยชน์
เพราะฉะนั้นทุนนิยมไม่ได้เป็นตัวร้าย แต่เป็นระบบที่สามารถใช้งานได้จริงๆ แต่สิ่งที่ไม่ถูกต้องมันแอบอยู่ในระบบนี้ เหมือนที่ 3 ข้อเรียกร้องม็อบยังยืนอยู่ เรื่องนายกฯ, รัฐธรรมนูญ, สถาบันกษัตริย์ ที่มีสภาพเหมือนระบบเผด็จการ ยึดอำนาจและสืบทอดอำนาจ มาถึงปัจจุบัน