ศาสนา คือ ความเชื่อที่สร้างกรอบคิดในขอบเขตเชิงปรัชญาที่เป็น metaphysic
เป็นความจริงสูงสุด เป็นเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ที่ไม่ใช่เรื่องทางโลก เป็นเป้าหมายเชิงจิตวิญญาณ
การกระทำในปัจจุบัน การกระทำขณะมีชีวิต จะส่งผลไปถึงชีวิตหลังความตาย ดังนั้นเป้าหมายจริงๆของศาสนา คือ คุณค่าที่เกิดขึ้นหลังความตาย และสิ่งที่กระทำในวันนี้ มีหน้าที่เพื่อนำไปสู่สิ่งนั้น
.
ศาสนา จึงพูดเรื่องแนวการปฏิบัติตัวที่จะนำไปสู่ความจริงสูงสุดเป็นสำคัญ แต่เรื่องของมนุษย์ปุถุชน แนวการดำเนินชีวิตของคน เป็นเรื่องรอง
ซึ่งมันก็ถูกแทรกอยู่ แต่มันไม่ได้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
การพูดเรื่องมนุษย์ การศึกษาเรื่องมนุษย์ การสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นมนุษย์จึงผูกติดอยู่กับ concept ที่ซับซ้อน และไม่ได้ผูกพันแค่ปัจจุบันขณะ แต่ผูกพันไปถึงภพชาติ ชีวิตในขณะที่มีชีวิตอยู่ ก็ผูกพันกับการไม่มีชีวิตแล้ว
การทำความเข้าใจชีวิตมนุษย์ภายใต้แนวคิดศาสนาจึงมีอยู่ในศาสนาน้อยมาก เพราะศาสนาจะพยายามไม่ปรับตัวเข้าหามนุษย์ แต่มนุษย์จะต้องปรับตัวเข้าหาศาสนา
.
ถ้าเราพอมองเห็นโครงสร้าง และเป้าหมายของมันในลักษณะนี้แล้ว
เราจึงเข้าใจได้ไม่ยากว่า ทำไมคนที่เชื่อในศาสนาจึงไม่ค่อยเข้าใจมนุษย์คนอื่นๆ เหมือนงานวิจัยที่บอกว่า คนที่เติบโตมาภายใต้แนวคิดทางศาสนาจะมี empathy ต่อผู้อื่นในระดับที่ต่ำกว่าคนที่ไม่ได้เติบโตมากับศาสนา
รวมถึงทำไมคนที่นับถือศาสนาอย่างรุนแรง จึงสามารถกระทำสิ่งที่โหดร้ายกับมนุษย์คนอื่น หรือ มีความรุนแรงต่อผู้อื่นได้มากกว่า
.
เพราะว่า เมื่อเราเชื่อในศาสนาแล้ว ความดีของเรา แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้อื่นอยู่บ้าง เช่น การช่วยเหลือกัน มีเมตตาต่อกัน
แต่ถึงที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องรอง
และสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ ความดีสูงสุดที่ฉันเชื่อและยึดถือ ไม่ใช่การปฏิบัติตัวต่อมนุษย์ผู้อื่น
ใน sense นี้คือ ถ้าฉันต้องเลือกระหว่าง การปกป้องความดีสูงสุด กับการทำร้ายคนอื่น
การปกป้องความดีสูงสุดนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า แล้วยิ่งถ้าคนที่ถูกทำร้ายนั้น คือ คนที่ตั้งใจทำลายความดีเหล่านั้น ก็ยิ่งเป็นสิ่งสมควร เป็นสิ่งถูกต้อง ดีงาม
.
เมื่อเราเชื่อในศาสนา
ชีวิตเราก็จะถูก shape ไปตามความเชื่อของศาสนานั้นๆ
คำสอนของศาสนานั้นให้ความสำคัญกับอะไร เราก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งนั้น และให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆน้อยลง
ถ้าเรามองเข้าไปในศาสนาหลักๆในปัจจุบัน
เราก็จะเห็นว่า แนวคิดเรื่องความเท่าเทียมนั้น มันไม่มีอยู่ในศาสนา
ศาสนาเน้นไปที่ความดีสูงสุด
เมื่อมีสูงสุด จริงสุด ก็ต้องมีสิ่งที่ต่ำกว่า มีสิ่งที่ไม่สำคัญ มีการคัดแยกว่า สิ่งนี้จริง สิ่งนี้ไม่จริง
และเมื่อมีการคัดแยก มีการตีความ มีความสูงต่ำ มันก็นำไปสู่การก่อร่างโครงสร้างอำนาจ
.
ยิ่งเวลาผ่านไปเป็นพันปี
การสืบสานแนวคิด ศาสนา ก็ย่อมถูกคัดกรอง คัดเลือกผ่านโครงสร้างอำนาจทางสังคมของมนุษย์ ผ่านการตีความผ่านอำนาจ
หากมีการตีความแนวคิดทางศาสนาต่างกัน ก็เกิดการปะทะกันว่า ใครแท้ ใครเทียม ใครถูก ใครผิด
แล้วถามว่า สิ่งเหล่านั้นถูกตัดสินด้วยเหตุผล หรือตัดสินด้วยความแท้-เทียมจริงเหรอ?
.
ไม่ใช่เลย
.
มันถูกตัดสินผ่านโครงสร้างอำนาจ
ใครมีอำนาจมากกว่า มีสาวกมากกว่า มีจำนวนมากกว่า ก็ถือเป็นฝ่ายถูก
แนวคิดนั้นก็อยู่รอดมาได้
.
ศาสนา จึงเป็นระเบียบทางสังคมที่เต็มไปด้วย hierarchy เสมอ
.
เราจึงหาความเท่าเทียมที่เป็นแนวคิดสมัยใหม่ในศาสนาได้ยาก
ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์ ทางฐานะ ทางเพศ หรือความเป็นมนุษย์
และเช่นเดียวกัน สิ่งเหล่านี้มันก็สร้างมนุษย์ศาสนา ให้มีลักษณะเป็นแบบนี้เช่นกัน
.
.
ในขณะเดียวกัน
มนุษย์ที่ไม่มีศาสนา ก็ไม่ได้แปลว่า มนุษย์เหล่านี้จะมี empathy ที่มากกว่ามนุษย์คนอื่น
มนุษย์ทุกคน เชื่อในอะไรแนวทางใดแนวทางหนึ่ง อาจจะเป็นแนวทาง เป็นปรัชญา เป็นความเชื่อพื้นถิ่น หรืออาจจะเป็นวิทยาศาสตร์
ไม่ใช่ทุกแนวคิดเข้ากับบริบทของยุคสมัยไปได้ซะทั้งหมด
และที่สำคัญคือ ชีวิตเราก็ไม่ได้ผูกติดอยู่กับแนวคิดเดียว
ชีวิตและความเชื่อของเราเป็นส่วนผสมของแนวคิด ปรัชญา รวมไปถึงความไม่รู้ ปะปนรวมๆกันๆ กวนออกมาเป็นตัวเรา
.
เราจึงเป็นมนุษย์ที่นับถือศาสนา ไปพร้อมๆกับสนับสนุนให้ฆ่าคนได้
เราจึงเป็นมนุษย์ที่ทำงานทางวิทยาศาสตร์ แต่เชื่อเรื่องผีแบบสุดขั้วได้
เราจึงเป็นมนุษย์ที่เรียกร้องประชาธิปไตย แต่เหยียดเพศได้ และ bully คนอื่นได้
เราจึงเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง บนทรัพย์สินระดับพันล้าน และพร่ำสอนให้คนอื่นอย่าโลภได้
แต่ในทางกลับกัน เราก็นับถือศาสนาไปพร้อมๆกับ เรียกร้องประชาธิปไตย มี empathy และเรียกร้องความเท่าเทียมได้
.
แนวคิดต่างๆ แม้จะผูกกัน แต่บางครั้งมันก็ไม่ได้ผูกกันจนเป็นเนื้อเดียว
มนุษย์เราต่างเลือกหยิบสิ่งนั้น สิ่งนี้ มากน้อยไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าเราอยากให้ความสำคัญกับสิ่งไหน
.
แต่อย่างน้อย
การที่เราไม่มีศาสนา มันก็ไม่มีความจริงสูงสุดให้ยึดถือ
ตัวตนของเราจึงไม่ได้ผูกกับอะไรที่สูงส่ง เหนือตัวเราขึ้นไป
เราจึงทำลาย และสร้างตัวเองใหม่ได้ง่ายกว่า ตั้งคำถามกับตัวเองได้ง่ายกว่า โดยที่ไม่ต้องตั้งคำถามกับอะไรที่มันศักดิ์สิทธิ์ หรือสูงส่งกว่าเรา
ตัวเรายืนอยู่ในระนาบที่ใกล้เคียงกับคนอื่น ไม่สูง-ต่ำกว่ากันมากเกินไป
แนวคิดความเท่าเทียม
แนวคิดการเข้าใจมนุษย์คนอื่น การมี empathy ต่อกัน
มันก็เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า
.
ดังนั้นการไม่มีศาสนา ไม่ได้แปลว่า เราไม่เชื่ออะไรเลย
หรือเราไม่มีอะไรให้ยึดถือ จนไม่รู้จักถูก-ผิด ชั่ว-ดี
แต่แค่ถูก-ผิด ชั่ว-ดี ของเรา มันไม่ได้ตั้งอยู่บนบรรทัดฐานที่ศาสนาขีด
แค่มันตั้งอยู่บนฐานอื่น
แต่จะสมเหตุสมผลหรือไม่นั้น ก็ไปดูกันในรายละเอียดอีกที
————————
image
พระปางชูนิ้วกลาง