ดูดัชนีการทุจริตของรัฐ ปี 2019: ไทยเป็นคนดีในสายตาชาวโลกหรือไม่

วาทกรรมของฝ่ายขวาคือการเป็นคนดี คือการเลือกคนดีเข้ามาปกครองบ้านเมือง แต่มุมมองโลก มุมมองผู้เชี่ยวชาญ จากนักเศรษฐศาสตร์ นักรัฐศาสตร์ทั่วโลกมองไทยยังไง?

เราใช้ดัชนี CPI (Corruption Perceptions Index) ในการชี้วัด โดยใช้ข้อมูลจากปี 2019 ซึ่งวัดสิ่งต่างๆเหล่านี้ [1]

  • การจ่ายใต้โต๊ะ (กลายเป็นเรื่องปกติ)
  • การยักยอกเงิน
  • การเอื้อประโยชน์ส่วนตัว
  • ความสามารถในการจัดการทุจริตขององค์กรที่รับผิดชอบ (ปปช.?)
  • กฎเกณฑ์ที่มีช่องโหว่ในการทำผิด (รัฐธรรมนูญเผด็จการ)
  • การใช้เส้นสาย ความเป็นเครือญาติ (กลายเป็นเรื่องปกติ)
  • ประสิทธิภาพในการดำเนินคดีพนักงานรัฐ (จะสูงมากเวลาดำเนินคดีชาวบ้าน ฝ่ายตรงข้าม)
  • มีกฎหมายเรื่องการเปิดเผยทรัพย์สินที่มีประสิทธิภาพ (นาฬิกาป้อม)
  • มีกฎหมายที่ปกป้องพยาน นักข่าว ในการเสนอข่าวทุจริต (คนออกมาพูดโดนจับก่อน)
  • การเปิดเผยข้อมูลภายใน เป็นต้น

โดยประเทศที่มี CPI สูงที่สุด รัฐเป็นคนดีที่สุด คือ New Zealand และ Denmark อยู่ที่ 87 คะแนน

ประเทศที่ CPI ต่ำที่สุด รัฐเลวที่สุด คือ Somalia อยู่ที่ 9 คะแนน

ส่วนประเทศไทยนั้นดูเหมือนอยู่ตรงกลางๆในแผนที่โลก แต่คะแนนอยู่ที่ 36 คะแนน ซึ่งหากดูประเทศที่ได้คะแนนมากกว่าเล็กน้อย เช่น เอธิโอเปีย ที่ในมุมมองคนไทยมองว่าเป็นประเทศยากจนในอดีต แต่ทำไมคะแนนเอธิโอเปียถึงมากกว่าไทยในปี 2019?

ซึ่งหากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศไทยนั้น แพ้เวียดนาม แพ้อินโดนีเซีย แพ้อินเดีย แพ้มาเลเซีย แพ้บรูไน ซึ่งเราอาจคิดมาตลอดจากการโฆษณาช่วยเชื่อว่าไทยเป็นประเทศที่ดี รัฐเป็นคนดี ตั้งทำงานเพื่อชาติ แต่ทำไมดัชนี CPI ถึงออกมาเป็นแบบนี้ และเป็นมาหลายปีโดยที่ไม่มีการปรับปรุงแต่อย่างใด

ผมจะรอดูว่าปี 2020 มุมมองโลกนั้นจะมองอย่างไร หลังจากการเคลื่อนไหวให้โครงสร้างอำนาจปรับปรุงให้อยู่ภายใต้กฎหมาย แต่ดูเหมือนจะยังไม่มีการรับฟังและออกมาปรับปรุงแต่อย่างใด

ฝ่ายขวาอาจจะเถียงว่าแล้วว่าคนต่างชาติที่จะมาบอกว่าดีไม่ดีเป็นใครบ้าง แล้วเขารู้ได้ยังไง ข้อมูลการวิเคราะห์จากองค์กรต่างๆที่นำมารวมเป็น CPI มีดังนี้

1.African Development Bank Country Policy and Institutional Assessment 2018
2.Bertelsmann Stiftung Sustainable Governance Indicators 2018
3.Bertelsmann Stiftung Transformation Index 2020
4.Economist Intelligence Unit Country Risk Service 2019
5.Freedom House Nations in Transit 2018
6.Global Insight Country Risk Ratings 2018
7.IMD World Competitiveness Center World Competitiveness Yearbook Executive Opinion Survey 2019
8.Political and Economic Risk Consultancy Asian Intelligence 2019
9.The PRS Group International Country Risk Guide 2019
10.World Bank Country Policy and Institutional Assessment 2018
11.World Economic Forum Executive Opinion Survey 2019
12.World Justice Project Rule of Law Index Expert Survey 2019
13.Varieties of Democracy (V-Dem)2019

[1] https://www.transparency.org/en/cpi