สำหรับใครก็ตาม จะรัก 9 ก็รักได้ แต่มันไม่สามารถอ้างว่า 9 ดี แล้วจะทำให้สถาบันมันมีความสมเหตุสมผลขึ้นมา
เพราะตัวบุคคลกับตัวสถาบัน แม้จะเป็นสิ่งที่ยึดโยงกัน แต่มันก็ไม่ได้หักล้างซึ่งกันและกัน
เพราะงั้นการเชิดชู so called “ความดี” ของคนๆหนึ่ง มันไม่ได้ support การมีอยู่ของสถาบันในฐานะองค์กรที่ครอบครองอำนาจ และทรัพยากรระดับมหาศาล
.
แต่ในทางกลับกัน
ผมให้พื้นที่กับ ความรักส่วนบุคคลด้วย ตราบใดที่มันไม่ถูกนำมาเป็นเหตุผลทางการเมือง
เพราะถึงที่สุดแล้ว เราไม่อาจบังคับจิตใจใครได้
ถ้าคนมันจะรัก คนมันก็รัก
ซึ่งคุณจะไม่นับเขาเป็นพวก อยากจะด่าเขา ก็ตามใจคุณ
แต่ผมจะไม่ด่าคน แค่เพราะว่า เขารักคนๆหนึ่ง แต่จะด่าเขาเมื่อเขา action ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ถ้าคนมันจะรักจนไม่สนใจอะไรทั้งสิ้น คนจะชั่ว จะเลวแค่ไหน เขาก็จะรัก
จะเอาความชั่วทั้งหมดมากองตรงหน้า เขาก็จะรัก
ตัวความรักเฉยๆ มันไม่ได้ทำร้ายใคร แต่ความรักที่มีปัญหา คือ ความรักที่มีตัวการกระทำ เอามาทำร้ายคนอื่นด้วยในวิถีทางต่างๆ ไม่ว่าจะด้วยอำนาจกฎหมาย หรือ การสนับสนุนอาชญากรรมของรัฐ หรือ สร้างใบเบิกทางให้รัฐกระทำความรุนแรงต่อประชาชน
.
อย่างที่เคยอธิบายว่า ความรักใน concept เนี่ย มันมีอยู่ในประวัติศาสตร์มนุษย์อยู่ตลอดเวลา
รักในเจ้า ซึ่งในแง่นี้ 9 ไม่ใช่แค่ตัวบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่มันดำรงอยู่ในฐานะ concept ด้วย ว่า มันคือ ความดีงามสูงสุด
รักพระเจ้า รักศาสนา รักบ้านเกิดเมืองนอน
รักประชาธิปไตย รักเสรีภาพ
ซึ่งเมื่อเราอยู่ในสังคมที่มีบริบทต่างกัน ความรัก ความเชื่อเหล่านี้ก็จะสมเหตุสมผลในยุคสมัย และบริบทที่ต่างกัน
นี่คือ point
.
ซึ่งคุณจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เป็นสิทธิ์ของคุณ
คุณจะบอกว่า ถ้าคนที่ยังรัก ไม่ว่าจะซื่อตรงต่อหลักการแค่ไหน ฉันก็จะไม่นับเป็นแนวร่วมของฉัน
ก็เป็นสิทธิ์ของคุณ
.
.
กลับไปที่ประเด็นสถาบัน
ข้อโต้แย้ง 80% ของฝ่ายขวาวันนี้คือ ความดีของ 9
ซึ่งวาทกรรมนี้ ทั้ง irreverent กับบริบทปัจจุบันและการมีอยู่ของโครงสร้างอำนาจ
เราไม่สามารถอ้างความดีของบุคคลเดียว มาสร้างความชอบธรรมให้กับทั้งระบบ
เช่นเดียวกัน อย่างที่ประยุทธ์ชอบอ้างเหลือเกินในทุกๆวันว่า ฉันไม่เคยโกง ฉันตั้งใจทำงานเสมอ
สมมติต่อให้ตัดเรื่องปัญหาด้านการเป็นผู้นำที่ใช้อำนาจอย่างมิชอบออกไป ต่อให้ไม่โกงจริง การมีอยู่ของประยุทธ์ก็ไม่ได้สร้างความชอบธรรมให้กับองค์กรทหาร และรัฐบาลทั้งองคาพยพ
และนี่คือ สิ่งที่ฝ่ายขวา พยายามเกาะแทบเป็นแทบตาย เพราะมันไม่มีความชอบธรรมอื่นให้เกาะแล้ว
.
สำหรับเรื่องวาทกรรมที่ใช้อ้างเพื่อสนับสนุนการมีอยู่ของสถาบัน
มันถูกอธิบายไปหมดแล้วว่า ทำไมมันถึงไม่สมเหตุสมผล ด้วยเหตุผล 12 ข้อนี้
.
1. การมีอยู่ของสถาบัน เป็นการรวมศูนย์อำนาจ
การรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มันเริ่มจริงจังสมัย ร.5 ลากมาถึงตอนนี้ และมันเข้มแข็งมากๆใน ร.9 ผ่านทางการสร้างภาพของกษัตริย์ให้กลายเป็นพระโพธิสัตว์ และเป็นอัจฉริยะในทุกๆทาง
อำนาจนี้มันรวมทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทหารไว้ และมันสร้างโครงสร้างอำนาจแบบระบบอุปถัมภ์ และระบบเหล่านี้ก็นำไปสู่การ corrupt ทางอำนาจ ทางนโยบาย ที่กลายเป็นปมที่แก้ไม่ออกถึงทุกวันนี้
.
2. โครงสร้างอำนาจ กลายเป็นข้ออ้างเชิงกฎหมายและเชิงศีลธรรม
เมื่อสร้างโครงสร้างนี้ได้ ก็มีการเขียนกฎหมายขึ้นเพื่อรักษา core นี้ไว้ และในเชิงศีลธรรม เจ้ากลายเป็น “ความดีสูงสุด”
สองสิ่งนี้มันเกื้อหนุนกัน และสร้างเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผลขึ้นมาในการเมือง เป็นเหตุผลที่อิงบนความเชื่อและความดี ซึ่งก็กลายเป็นวาทกรรมที่ให้พลเมืองฝ่านขวาเกาะอย่างเอาเป็นเอาตายอยู่ในวันนี้
.
3. โครงการพระราชกรณียกิจทั้งหลายไม่ได้เกิดจากคนๆเดียว ไม่ได้คิดคนเดียว แต่เป็นการ take credit
ที่บอกว่า ทำ มีทำจริง และไม่ได้ทำจริงๆ ส่วนใหญ่มันคือ หน่วยงานทำ ประชาชนทำ แล้วก็มอบเครดิตให้ด้วยเหตุผลหลากหลาย
ทั้งเต็มใจเพื่อผลประโยชน์ เพื่อเส้นสาย และไม่เต็มใจ แต่ก็ถูกบังคับโดยอำนาจ หรือเพื่อให้โครงการผ่านได้ง่าย
มันคือ ผลประโยชน์ต่างตอบแทน และการบังคับใช้อำนาจ
.
4. ถ้าไม่มีสถาบัน ยังไงรัฐที่มาจากประชาชน มันก็มีหน้าที่ต้องทำอยู่แล้ว และต้องทำตามความต้องการประชาชน มีภาระหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่
การมีอยู่ของสถาบัน จึงเป็นตัวขัดขวาง แทรกแซงนโยบายรัฐหลายอย่าง ทั้งเรื่องของ connection และผลประโยชน์
ถ้าใครมีผลประโยชน์กับเจ้า ย่อมได้รับผลประโยชน์จากนโยบายรัฐก่อน
และมันก็เป็นการ take credit ที่ควรจะเป็นผลงานของรัฐ เข้าสู่ราชวงศ์
รวมไปถึงข้าราชการที่มันควรจะทำงานเพื่อประชาชน แต่ดันมีคติ ทำงานเพื่อเจ้า ทำในนามเจ้า
.
5. โครงการทั้งหลายไม่สามารถตรวจสอบ วิจารณ์ประสิทธิภาพของมันได้จริง
ในประเทศที่บ้าการประเมิน มี Kpi มี มคอ. มีมาตรฐานเต็มไปหมด
แต่กับโครงการของเจ้า แทบไม่ต้องประเมินอะไรทั้งสิ้น ความคุ้มค่าของงบ หรือ ประสิทธิภาพของผล ไม่เคยถูกตั้งคำถามจริงจัง ตัวอย่างมากมาย ทำมา แต่ไม่ work
การประเมิน kpi ก็ไม่ได้ถูกประเมินอย่างเป็นอิสระ หรือไม่ได้มีมาตรฐานจริง
.
6. ภาพที่เห็น มีรูปต่างๆ ในการลงพื้นที่ห่างไกล
มันลงพื้นที่จริง แต่มันไม่ใช่งานของคนๆเดียว เรามองไม่เห็นคนรอบข้าง มองไม่เห็นหน่วยงานที่ทำงาน เรามองไม่เห็นข้าราชการ เราเห็นแต่คนๆเดียว ภาพของเขาบดบังคนทำงานคนอื่นหมด take credit เข้าตัวเองหมด
เราก็เลยมานั่งด่า ขรก. ด่านักการเมืองเหี้ย โกงกิน เพราะเราไม่เห็นว่า คนที่ทำงานทำอะไรบ้าง
เวลาชมได้รับคนเดียว แต่เวลาโดนด่า ด่าคนอื่น
.
7. เรื่อง propaganda คือ การผลาญภาษีที่หนักหน่วงที่สุดในแต่ละปี มันคือ การใช้งบละลายทรัพยากรเพื่อประโยชน์ส่วนตัวที่แท้จริง
คิดง่ายๆ ถ้าผมเป็นนายกแล้วเอาภาษีมาประกาศทุกวัน ขึ้นป้ายทั่วเมืองว่า รัฐบาลนี้ดียังไง มันจะเหี้ยมากๆ
แต่คนดันรับเจ้าได้ เพราะการมีอยู่ของเจ้า อยู่เหนือสามัญสำนึกนี้
โฆษณาแบบนี้ทั้งเปลืองภาษีและล้างสมอง
.
8. ขยายเรื่อง ความดี-ชั่ว
ข้ออ้างฝ่ายขวาที่เชื่อว่า คนชั่วระบบก็พัง คนดีระบบก็ดีมาตลอด
พอเจอ 10 แล้วเป็นไงล่ะ วาทกรรมนี้ถูกทำลายหมด เพราะแม้แต่ฝ่ายโปรสถาบันเอง ก็ไม่รู้จะหาอะไรมาอ้างแทน ข้ออ้างที่พยายามอ้างอย่างทำงานระยะไกล ช่วยบริจาคนั่นนี่ มันยังโน้มน้าวพวกเดียวกันเองยังไม่ค่อยจะขึ้นเลย ความพังมันปิดไม่มิดแล้ว
ก็เลยต้องพยายามกลับไปโหยหาสถาบันที่มีภาพของ 9 ขึ้นมาเป็นสรณะ เพื่อชูสถาบันว่า ยังประเสริฐอยู่
ทั้งที่ 9 ไม่มีอยู่ในบริบทอีกแล้ว
.
9. รปห. ที่เกิดขึ้นในหลายๆครั้ง ก็เป็นใบสั่งจากเจ้าสั่งทั้งนั้นแหละ
รปห. ทีไรก็เซ็นให้ตลอด แล้วจะบอกว่า เจ้าไม่เห็นด้วยได้ไง ก็ยอมรับอำนาจทุกครั้ง
หลังๆ พยายามบิดด้วยข้ออ้างว่า กษัตริย์ถูกบังคับให้เซ็น เพราะการที่ทหารยึดอำนาจ แปลว่า ทหารยึดอำนาจและขึ้นไปอยู่เหนือกษัตริย์
กษัตริย์ไม่มีทางเลือก ก็มีแต่ต้องเซ็น
จะอ้างแบบนี้ได้ ก็คือ การขาดการมองภาพเชิงโครงสร้างอำนาจ เพราะมองเห็นอำนาจทหารและอำนาจกษัตริย์เป็นคนละสิ่ง
ทั้งๆที่จริงๆ สองอำนาจนี้มันหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันมานานแล้ว
หลักฐานมีมากมายว่า เจ้าเป็นผู้ออกคำสั่ง ในสถานการณ์ต่างๆที่มีการต่อสู้ ปราบปรามประชาชน
.
10. การเติบโตทางการเมืองต่ำ ก็เพราะการมีอยู่ของสถาบัน
เพราะเอาเหตุผลทุกอย่างไปผูกกับสถาบันหมด ก็เลยคิด วิเคราะห์อะไรกันบนความขัดแย้งของประชาชนไม่ได้
ประชาชนขัดแย้งกัน แทนที่จะจัดการกัน เติบโตกันเอง ก็เสือกต้องไปพึ่งอำนาจที่สูงกว่ามาจัดการ ซึ่งก็เป็นการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอีก
และนี่คือ ต้นเหตุของความขัดแย้งเลย
ฝ่ายขวาอยากให้คนฝ่ายซ้ายฟังตัวเอง
แต่ที่ผ่านมา เขาไม่เคยฟังกันเลย ดีแต่ใช้อำนาจกด
แล้วในปัจจุบันโลกมันต้องดีลกับปัญหาอื่นๆที่ critical ไม่แพ้กัน
อย่าง global warming
อย่าง feminism
อย่าง waste management
ซึ่งเราแทบจะไม่มีพลัง ไม่สามารถรวมคนให้มากพอ หรือทุ่มพลังไปในประเด็นเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่
เพราะเราต้องมาแก้ไขปัญหาล้าหลัง อย่างการมีอำนาจสูงสุดที่กดขี่ประชาชนอยู่ในทุกวันนี้
.
11. เราจัดการเรื่องความขัดแย้งกันไม่เป็น
สืบเนื่องจากข้อ 10
ทุกครั้งที่เกิดปัญหาความขัดแย้ง เราเรียกหาอำนาจที่สูงกว่า เพื่อใช้กดทับปัญหาที่เกิดขึ้น และแก้ไขมันในนามความปรองดอง การห้ามทัพจากเจ้า
เราจึงถกเถียงกันด้วยเหตุผลไม่เป็น และรังเกียจความขัดแย้ง
สังคมไม่เข้าใจว่า ความขัดแย้ง คือ ปัญหาที่มีมาตลอด และจะมีตลอดไปในสังคมมนุษย์
เราจึงพยายามกดไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งๆที่เราควรจะสร้างระบบในการสะสางความขัดแย้งอย่างยุติธรรม
มันคือ ความ immature ของสังคม, ขัดขวาง critical thinking และทำลายความยุติธรรมที่ควรมีต่อประชาชนทุกฝ่าย
.
12. การศึกษาไม่เติบโต
สังคมไทยด่ากันตลอดเรื่องการศึกษา
เยาวชนไม่มี critical thinking ก็นี่แหละต้นเหตุ
เพราะมันเป็นการศึกษาที่ปลูกฝังความเชื่อ ไม่ใช่ความคิด วิเคราะห์
วิชาสังคมประวัติศาสตร์นี่แหละพังสุด
วิชาสังคม เป็นวิชาที่ต้องใช้กระบวนการหาข้อมูล คิด วิเคราะห์ ตีความสูงมาก แต่เปล่าเลย ปัจจุบันวิชาสังคมคือ เครื่องมือกล่อมเกลา และล้างสมองชั้นดี
แต่นี่ก็เป็นความตั้งใจของชนชั้นอำนาจ
เพราะถ้าคนมันคิดเป็นเมื่อไหร่ มันก็เหมือนวันนี้แหละ มันคุมกันไม่อยู่ คนมันไม่ยอมแล้ว
.
ท้ายที่สุด
การพูดเรื่องสถาบันนั้นมีประเด็นย่อยอีกมากมาย อย่าง ม.112, ประเด็นเรื่องภาษี และการใช้ภาษี, ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, ประเด็นเรื่อง mono-polygamy ที่มันสามารถพูดถึงความย้อนแย้ง ความไม่มีประสิทธิภาพ ความมั่วซั่วของวาทกรรมได้ไม่จบไม่สิ้น
.
อย่างไรก็ตาม
ถ้าบอกว่า คนรุ่นใหม่ ไม่ฟัง
สำหรับผม ผมมองว่า นี่คือฟังแล้ว
ฝ่ายขวาต่างหากที่ไม่เคยฟัง
เอาแค่ประเด็นหลักอย่าง ข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ
นี่คือ ฟังแล้ว
การที่เรียกร้องให้ “ปฏิรูปสถาบัน” นี่คือ เป็นการประนีประนอมที่สุดแล้ว