หนึ่งในยุทธศาสตร์ในการประท้วงที่เพนกวินเสนอ คือการตัดท่อน้ำเลี้ยงสถาบันกษัตริย์
ค่ำคืนที่เพนกวิน หรือ พริษฐ์ ชิวารักษ์ หนึ่งในแกนนำการชุมนุมวันที่ 19-20 กันยายน 2020 ที่เวทีใหญ่สนามหลวง กล่าวปราศรัยขึ้น เขาได้พูดถึงยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ โดยให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมมีส่วนร่วมในการ ยกมือ เพื่อลงมติสนับสนุนยุติศาสตร์ที่เขานำเสนอ หนึ่งในนั้นคือการแบน SCB ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์โดยตรง
เนื่องจากวชิราลงกรณ์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ SCB ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าควรย้ายบัญชีไปธนาคารไหนดี ขอนำเสนอธนาคารหลักที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น จากข้อมูลผู้ถือหุ้นล่าสุดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประมาณเดือนมิถุนายน ปี 2020 มีดังนี้
1. ธนาคารกสิกร ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นทุนชาติตะวันตก และประกันสังคม
2. ธนาคารกรุงเทพ ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นทุนชาติตะวันตก และประกันสังคม
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นธนาคารจากญี่ปุ่น
4. ธนาคารกรุงไทย ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน สิ่งที่น่าสนใจคือ ประธานกรรมการแต่งตั้งโดยวชิราลงกรณ์ ส่วนผู้ว่าการฯที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลนั้นเป็นลูกชายของอดีตนายตำรวจใหญ่ ประทิน สันติประภพ ที่เคยต่อยกับคนอื่นในสภาและเป็นหนึ่งในผู้ปราศรัยหลักของคนเสื้อเหลือง
5. ธนาคารธนชาติและทหารไทย กำลังควบรวมเป็นธนาคารเดียวกัน ซึ่งหากสังเกตดีๆ จะเป็นการไขว้หุ้นกันไปมา ดังนั้นผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นทุนชาติตะวันตก
6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นทุนมาเลเซีย
7. ธนาคารยูโอบี ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นทุนสิงคโปร์
8. ธนาคารทิสโก้ ผู้ถือหุ้นใหญ่นานาชาติ แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ในรายชื่อ OFFSHORE LEAKS DATABASE ของ ICIJ (Panama paper) ซึ่งอาจจะไม่ส่วนเกี่ยวพัน หรือไม่ก็ได้กับการทำผิดกฎหมาย
สำหรับธนาคารของรัฐ
1. ธนาคารออมสิน และธกส. ผู้ถือหุ้นในทางเทคนิคคือประชาชน ที่เลือกให้รัฐมนตรีเข้ามาบริหาร ผู้บริหารใหญ่ในทางเทคนิคก็คือตู่ ดังนั้นเจ้าของจริงๆเป็นใครขอให้ลองวิเคราะห์ดูเอง